![]() |
![]() |
งานส่งเสริมความยุติธรรมและสันติภาพ ( JPIC )
งานส่งเสริมความยุติธรรมและสันติภาพ( JPIC ) เป็นความร่วมมือระหว่างคณะอุร์สุลินในแต่ละประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรมและสันติภาพในแต่ละท้องถิ่นที่คณะอุร์สุลินดำเนินการอยู่ โดยมุ่งส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรม ศึกษา ทำความเข้าใจ และแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเต็มไปด้วยมลพิษ ปัญหาด้านความขาดแคลนอาหาร และที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนนอกโอกาสและคนชายขอบทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประดา เด็กและเยาวชน รวมทั้งผู้อพยพลี้ภัยเข้าเมืองของแต่ละประเทศ
งานส่งเสริมความยุติธรรมและสันติภาพ( JPIC ) ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 โดยในแต่ละช่วงเวลาจะมีการประชุมสมัชชาใหญ่คณะอุร์สุลินเพื่อสร้างข้อตกลงและพันธกิจร่วมกันในการดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ ดังเช่นใน “สาส์นของสมัชชาใหญ่คณะอุร์สุลิน ปี 2001” ที่ว่า
ยาตราไปตามรอยเท้านักบุญอัญจลา
ผู้มีนามาแสวงบุญแห่งสันติและการคืนดี
วันนี้เรายินเสียงเรียกเพรียกขานให้เป็น
ศิลปินผู้สร้างสันติ
ยิ่งวันยิ่งทวีขึ้น
ในยุติธรรมนำมาซึ่งความกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียว
ในตนเองและระหว่างเราด้วยกันในชีวิตกลุ่ม
ในการภาวนาเพ่งพิศรำพึงในพันธกิจ
สถิตท่ามกลางประชากรและบวรวัฒนธรรม
พร้อมกับโลกและสิ่งสร้างทั้งมวล
สันติเป็นของขวัญจากพระคริสตเจ้าในการสิ้นพระชนม์
และการกลับคืนชีพของพระองค์ อันเป็นประสิทธิผลแห่งพระจิต
“ รักและสัจจะ บัดนี้มาพบกัน
ยุติธรรมและสันติโอบอุ้มกัน ”
( สดุดี ๘๔)
สาสน์สมัชชา
คณะอุร์สุลิน ค.ศ. ๒๐๐๗
จงเข้มแข็งและมั่นใจเถิด
อย่าตกใจหรือคร้ามกลัวเลย
ท่านไปในถิ่นฐานใด
พระเจ้าทรงสถิตกับท่าน
โยชูวา ๑ , ๙
เสริมพลังแกร่งกล้า
ด้วยพระวาจาของพระเจ้า
และการเข้าร่วมกลุ่มเป็นหนึ่งเดียวกันในความเชื่อ
ให้เรามีความกล้าหาญ
ข้ามโพ้นพรมแดน
และพร้อมกับอัญจลา ... เป็นเครื่องหมาย
แห่งการคืนดีกัน
และความหวัง
ดังนั้นในแต่ละปีคณะอุร์สุลินในแต่ละประเทศจึงจะมีแนวทางในการดำเนินงานร่วมกัน โดยในแต่ละปีจะมุ่งเน้นแตกต่างกันไป เช่น ในปี 2005 ที่เน้น “ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน” (SOLIDARITY), ปี 2006 เน้นว่า “จงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและ จงดำเนินชีวิตใหม่เป็นหนึ่งเดียวกลมเกลียวกับธรรมชาติ” เป็นต้น และในปัจจุบันนี้โรงเรียนอุร์สุลินในประเทศไทยได้ร่วมดำเนินการตามแนวทางหัวข้อรณรงค์ที่ได้รับจากสาส์นสมัชชา ค.ศ. ๒๐๐๗ ดังนี้
โรงเรียนอุร์สุลินในประเทศไทยร่วมรณรงค์
(ตระหนัก ทำความเข้าใจ สื่อความและลงมือกระทำ)
ตามสาส์นสมัชชา ค.ศ. ๒๐๐๗
ของคณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน
ปีการศึกษา ๒๕๕๑-๒๕๕๖ ( ๒๐๐๘ – ๒๐๑๓ )
ปีการศึกษา |
หัวข้อรณรงค์ (เป็นข้อความกระชับที่ชัดและจำง่าย |
คุณธรรมรณงค์ |
ประเด็นปัญหาในสังคม |
อ้างอิงพระวาจา |
อ้างอิงข้อเขียนของอัญจลา |
2008/2551 |
เรียนรู้ รัก ข้ามพรมแดนใจ |
ข้ามโพ้นพรมแดน/ to go beyond our borders |
ภาวะโลกร้อน/ Global warming |
มธ. ๕, ๔๓-๔๖ ลก.๑๐,๒๕-๓๗ |
คำแนะนำ ๘, ๓-๓-๕ |
2009/2552 |
กล้าหาญสรรคุณค่าเลือกศรัทธาแต่สิ่งดี |
มั่นใจและกล้าหาญอยู่ข้างความจริง/ Be confident and courageous on the side of the truth |
การค้ามนุษย์ Human trafficking |
มธ.๘,๕-๑๓ ; ๒๑-๒๒ ลก. ๑๐,๒๕-๓๗ มธ.๑๐,๒๖-๒๘ ยน.๑๖,๑-๔ ; ๑๓ |
คำแนะนำ ๓,๑๐ ๕, ๑๖ ๗, ๒๒ |
2010/2553 |
Think globally, Act locally ตัวเป็นไทย จิตใจสากล |
หล่อหลอมสู่ความเป็นสากล/ Internationality |
ส่งเสริมสิทธิเด็กและสตรี/ rights of the child and rights of women |
มธ. ๕,๑-๑๑ มธ. ๒๕,๓๑-๔๖ นางรูธ |
คำแนะนำ อารัมภบท ๑๕-๑๘ ๕,๓๒,๓๙ |
2011/2554 |
ขอโทษโปรดอภัย เริ่มต้นใหม่ด้วยคืนดี |
การคืนดี/ Reconciliation |
ลดปัญหาต่าง ๆ ในเรื่องของน้ำ /water |
มธ.๑๘,๑๙-๒๐ มธ.๕, ๑๓-๑๕ มธ.๕,๒๓ ยน. ๔, ๑-๔๒ มธ.๖,๗-๑๕ ลก.๒๓,๓๔ คส.๓, ๑๓ |
พินัยกรรม อารัมภบท ๒๑-๒๒ |
2012/2556 |
หนึ่งเดียวกลมเกลียวสัมพันธ์ |
ความสนิทสัมพันธ์/ Communion in Solidarity |
ศักดิ์ศรีของสิ่งสร้าง /Integrity of creation |
มธ.๖,๑๒-๑๕ มธ.๑๘,๒๑-๒๒ ลก.๑๙, ๑-๑๐ คส.๓,๑๔-๑๖ |
คำแนะนำ ๕,๑๖ พินัยกรรม ๕, ๙-๑๐ |
2013/2555 |
ความหวังเป็นพลังนำชีวิต |
ความหวัง/ Hope |
ความยากจนและภาวะขาดโภชนาการ/ Poverty and Malnutrition |
ลก.๑๐,๒๙-๓๗ ยน.๑๕,๔-๑๗ ๑คร.๑๓,๑-๓๑
|
คำแนะนำ ๕,๒๐ สุดท้าย ๑-๒,๑๕ พินัยกรรม ๑๐,๗-๑๒ |
เรียบเรียงข้อมูลจาก
เอกสารโรงเรียนอุร์สุลินในประเทศไทย ร่วมรณรงค์ ตามสาส์นสมัชชา ค.ศ. ๒๐๐๗
|
สิ่งแวดล้อม
|
||
น้ำ
|
||
การค้ามนุษย์
|
||
|
||
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
|
||
|